พระบรมราโชวาท หมายถึง ถ้อยคำที่พระมหากษัตริย์ทรงตรัส มักกล่าวแก่ที่ประชุม มีจุดประสงค์เพื่อแนะนำ ให้ข้อคิด มีใจความที่แฝงไปด้วยประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ สามารถนำถ้อยระบรมราโชวาท ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคมบ้านเมือง ในรัชกาลปัจจุบัน พระองค์ได้ทรงตรัส พระบรมราโชวาท ไว้อย่างหลากหลาย เมื่อครั้งเสร็จพระราชดำเนินไปในงานพิธีต่างๆ อาทิ งานพระราชทานปริญญาบัตร วาระการประชุมที่สำคัญ หรือแม้แต่ในวันพระราชสมภพ 5 ธันวาคม พระองค์ก็ได้ทรงตรัสพระบรมโชวาทที่สามารถนำกลับมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดีแก่องค์กรและคณะบุคคลต่างๆ ทั้งนี้ เราได้รวบรวม พระบรมราโชวาท ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ส่วนหนึ่งมาให้ได้อ่านกัน เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ และทำให้เราได้มองเห็นในอีกด้านหนึ่งของการใช้ชีวิต ว่าควรจะดำเนินต่อไปอย่างไร
ความสามัคคี
สามัคคีที่สำคัญที่สุดคืออะไร ก็คือ สามัคคีในชาติ ไม่ใช่ว่า ความสามัคคีในคณะไม่ดี แต่ต้องระวัง ถ้าสามัคคีกัน แต่ว่าไป ก้าวก่ายหรือไปทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ในสถาบันก็เป็นความผิด ถ้าสามัคคีในสถาบันไปทำให้คนอื่นเสียหายหรือเดือดร้อนก็ไม่ดี เพราะทำให้เสียหายต่อสามัคคีของชาติ
ระเบียบวินัย
วินัยในตนเอง หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม โดยเกิดจากความรู้สึกมองเห็นคุณค่าในการปฏิบัติด้วยตนเอง มิได้เกิดจากอิทธิพลภายนอก เช่น ระเบียบ คำสั่ง การบังคับ ถึงแม้จะมีอุปสรรคก็ยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมนั้น
ส่วนหนึ่งของพระบรมราชาโอวาทเรื่องความสามัคคีและระเบียบวินัย
ความสามัคคีนี้ หมายถึงว่ามีสิ่งใดที่อาจ ขัดแย้งซึ่งกัน และกันบ้าง ก็ต้องปรองดองกันเสีย และหา ทางออกโดยที่ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง กันเพราะความสามัคคีเป็นกำลังอย่างสูงสุดของ หมู่ชน
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่กลุ่มชาวไร่ หมู่บ้านตัวอย่าง โครงการไทย-อิสราเอล
จังหวัดเพชรบุรี
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๑๓
ความพอพระราชหฤทัยของพระราชาอยู่ที่ว่า แต่ ละคนจะทำหน้าที่ของตัวด้วยความตั้งใจ มีความคิดพิจารณาที่รอบคอบ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง กัน ส่งเสริมความสามัคคี และปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่ผู้ที่ได้รับ พระราชทานเหรียญราชรุจิ
ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน
วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๑๓
ชาติของเรารักษาเอกราชอธิปไตยมาได้จนถึงทุก วันนี้ด้วยความสามัคคี ผู้ใดเดือดร้อนก็ได้รับการ บรรเทาความเดือดร้อนนี่เป็นหลักสำคัญของการปกครอง ประเทศไทยมาแต่โบราณกาล
ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะกรรมการบริหารและอาสาสมัคร มูลนิธิราชประจำนุเคราะห์ฯ
ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร
วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๐๘
พระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ วินัยในการทำงาน
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่นักศึกษาปัจจุบันของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ สโมสรอาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๒๒
ระเบียบในการทำงานนี้จำเป็นต้องมี คือ มีวินัยนั่นเอง ถ้าไม่มีวินัยทำอะไรก็จะเปะปะไปหมด แม้ในห้องเรียนจะไม่ได้สอนว่า วิชานี้ๆ ต้องมีวินัย แต่ทุกวิชาต้องมีวินัย แม้จะไปสังสรรค์กัน ไปเล่นกีฬากัน ไปพัฒนาชนบทก็ตาม ต้องมีวินัยทั้งนั้น ถ้าไม่มีวินัย
งานนั้นมีหวังล้มเหลวหรือยิ่งกว่านั้นงานนั้นอาจจะมีหวังทำลายส่วนรวมก็ได้ถ้าไม่มีวินัยขาดความรู้หน่อยอาจจะยังดี ดีกว่าขาดวินัย แต่ถ้ามีทั้งความรู้และวินัยก็ยิ่งดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น